หน่วยที่ 6 นวัตกรรมการเรียนการสอน
จากการที่ศึกษานวัตกรรมการเรียนการสอน
e-Learning คือ
การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น
กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ
รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา
โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไปและการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้
การที่เราศึกษานวัตกรรมการเรียนการสอนของ e
–Learning ทำให้ได้รับประโยชน์มากมายจากการศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เพราะการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางมัลติมีเดียสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนจากสื่อข้อความเพียงอย่างเดียว
ประโยชน์ของ e-learning
- 1. การเรียนการสอนผ่านระบบ
e-learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหาและกระทำได้ตลอดเวลาเพราะ
สามารถกระทำได้ตามใจของผู้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก
นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จากัดเวลาและสถานที่
- 2. ผู้เรียนและผู้สอนสามารถเข้าถึง
e-learning ได้ง่ายโดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ ผู้เรียน สามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้และในปัจจุบันนี้
การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทาได้ง่าย ขึ้นมากและยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย
- 3. การปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทาได้ง่าย
เนื่องจากผู้สอน e-learning จะสามารถเข้าถึง
server ได้จากที่ ใดก็ได้การแก้ไขข้อมูลและการปรับปรุงข้อมูลจึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว
ความสำคัญของ e-Learning อยู่ที่การออกแบบ
ดังนั้นแม้ว่าเนื้อหา วิธีการ
ที่มีอยู่จะส่งผ่านระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพอย่างไรก็ตาม
แต่ถ้ารูปแบบไม่น่าสนใจ ไม่สามารถดึงความสนใจของผู้เรียนไว้ได้
ก็ทำให้ผู้เรียนไม่อยากเรียน ก็จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการศึกษาหาความรู้ การนำ e-Learning
ไปใช้
นอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จแล้วยังทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายและเสียเวลาอีกด้วย
จะเห็นได้ว่า การเรียนการสอนแบบ e-learning นั้นได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาไทยเป็นเวลาช้านาน และ
e-learning ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป
ทั้งนี้ก็เพื่อจะตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียนและเพื่อตอบสนองนโยบายการเรียนรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น