หน่วยที่ 2 หลักการแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษาเป็นทฤษฎีที่ได้จาก
2 กลุ่มคือ
ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้
เช่น Chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี
เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
(Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response
Theory)
ทฤษฎีจากกลุ่มความรู้
ทฤษฎีทางจิตวิทยาของกลุ่มนี้ซึ่งมีชื่อว่า
Cognitive Field Theory นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ เช่น โคเลอร์(kohler)
เลวิน (Lawin) วิทคิน (Witkin) แนวคิดของทฤษฎีนี้จะเน้นความพอใจของผู้เรียน
ผู้สอนควรให้ผู้เรียนทำงานตามความสามารถของเขาและคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ
การเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตัวเขาเอง ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะ
1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้รับการพัฒนามาจากแนวความคิดเรื่องสิ่งเร้าและการตอบสนอง
(Stimulus-Response) หรือทฤษฎี เอส-อาร์ (S-R theory)
และนำมาประยุกต์ใช้ (Defleur, 1966) อธิบายว่า
บุคคลมีความแตกต่างกันหลายประการ เช่น บุคลิกภาพ ทัศนคติ สติปัญญา และความสนใจ
เป็นต้น
และความแตกต่างนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมทำให้มีพฤติกรรมการสื่อสารและการเลือกเปิดรับสารที่แตกต่างกัน
1.3 ทฤษฎีพัฒนาการ ประหยัด จิราวรพงศ์
(2547, หน้า 44) ได้กล่าวว่า
ทฤษฎีพัฒนาการของเปียเจท์
ได้อธิบายว่าการพัฒนาสติปัญญาและความคิดของผู้เรียนนั้น
เกิดจากการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม และผู้สอนควรจะต้องจัดสภาพแวดล้อม
ทางการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความพร้อมของผู้เรียนด้วย
ทฤษฎีพัฒนาการของบรูนเนอร์
ได้อธิบายว่าความพร้อมของเด็กสามารถจะปรับได้
ซึ่งสามารถจะเสนอเนื้อหาใดๆ แก่เด็กในอายุเท่าใดก็ได้แต่จะต้องรู้จักการจัดเนื้อหาและวิธีการสอนที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเหล่านั้น
ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นจะต้องเข้าใจเด็กและรู้จักกระตุ้นโดยการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็ก
ทฤษฎีพัฒนาการของอิริคสัน
ได้อธิบายว่า การพัฒนาการทางบุคลิกภาพย่อมขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างอินทรีย์กับสภาพสังคมที่มีอิทธิพลมาเป็นลำดับขั้นของการพัฒนาและจะสืบเนื่องต่อๆไป
เด็กที่มีสภาพสังคมมาดีก็จะมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีด้วย
ดังนั้นผู้สอนควรจะสร้างสัมพันธภาพกับผู้เรียนให้ความสนใจเพื่อแก้ปัญหาค่า
นิยมบางประการ
ทฤษฎีของกีเซล
ได้อธิบายว่า พฤติกรรมของบุคคลจะขึ้นอยู่กับพัฒนาการซึ่งจะเป็นไปตามธรรมชาติและเมื่อถึงวัยก็สามารถกระทำพฤติกรรมต่างๆได้เอง
ไม่จะเป็นต้องฝึกหรือเร่งเมื่อยังไม่พร้อม ในการจัดการเรียนการสอนผู้สอนจะต้องคำนึงถึงความพร้อม
ความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน
2. ทฤษฎีการสื่อสาร
รศ.ดร.สาโรช โศภี(2546)
ได้กล่าวไว้ว่า
การสื่อสาร (communication) คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณหรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1. ผู้ส่งสาร (Source)
2. ข่าวสาร (Message)
3. ช่องทางการสื่อสาร (Channel)
4. ผู้รับสาร (Receiver)
การสื่อสาร (communication) คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณหรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1. ผู้ส่งสาร (Source)
2. ข่าวสาร (Message)
3. ช่องทางการสื่อสาร (Channel)
4. ผู้รับสาร (Receiver)
3. ทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีระบบ
(Systems theory) เป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา
โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา
ระบบที่เน้นความสนใจเฉพาะภายในระบบคือ
ระบบปิด และระบบที่ขยายความสนใจไปถึงระบบภายนอกที่ใหญ่กว่าก็คือ ระบบเปิด
ระบบเปิดนี้ถือว่า องค์การเป็นระบบย่อยของระบบที่เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกอีกทีหนึ่ง
วิธีการเชิงระบบเห็นว่า ระบบการบริหาร ซึ่งหมายถึง
การจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้น มีลักษณะเป็นระบบที่คล้ายกับระบบทางกายภาพและทางชีววิทยา
และเห็นว่าในระบบบริหารนั้นประกอบด้วยระบบใหญ่และระบบย่อย ระบบเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดตัวแปรตัวคงที่
ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างกันและการติดต่อสื่อสารและต้องมีปัจจัยนำเข้า
(Input) กับปัจจัยนำออก (output) ไว้
4. ทฤษฎีการเผยแพร่
การเผยแพร่
(Diffusion) หมายถึง
กระบวนการที่ทำให้นวัตกรรมได้รับการยอมรับและถูกนำไปใช้โดยสมาชิกของชุมชนเป้าหมาย
การศึกษาถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
มีสาเหตุสำคัญ 3 ประการคือ
1. ต้องการทราบว่าผลผลิตของเทคโนโลยีการศึกษาเป็นที่ยอมรับหรือไม่เนื่องจากการปฏิบัติจริงนั้นไม่เหมือนกัน
2. นักเทคโนโลยีการศึกษาสามารถจัดเตรียมในการเผยแพร่งานเทคโนโลยีการศึกษาให้กับกลุ่มผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. นำไปสู่การเผยแพร่นวัตกรรมอย่างเป็นระบบ
สร้างรูปแบบการเผยแพร่และรูปแบบการยอมรับนวัตกรรมขึ้น
5. การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม
(Bloom’s Taxonomy)
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของบลูม
บลูม (Bloom.1976) เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกันเชื่อว่า การเรียนการสอนที่จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนแน่นอน เพื่อให้ผู้สอนกำหนดและจัดกิจกรรมการเรียนรวมทั้งวัดประเมินผลได้ถูกต้อง
บลูม (Bloom.1976) เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกันเชื่อว่า การเรียนการสอนที่จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนแน่นอน เพื่อให้ผู้สอนกำหนดและจัดกิจกรรมการเรียนรวมทั้งวัดประเมินผลได้ถูกต้อง
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น
6 ระดับ
1.
ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge)
ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
2.
ความเข้าใจ (Comprehend)
3.
การประยุกต์ (Application)
4.
การวิเคราะห์ ( Analysis)
สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
5.
การสังเคราะห์ ( Synthesis)
สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม
เน้นโครงสร้างใหม่
6.
การประเมินค่า ( Evaluation)
วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด
ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
6.ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ (Gagne)
• การจูงใจ (Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
• การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
• การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ (Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะ ยาว
• การจูงใจ (Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
• การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
• การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ (Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะ ยาว
• ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
• ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase)
• การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
• การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ (Performance Phase)
• การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง
• ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase)
• การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
• การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ (Performance Phase)
• การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง
แหล่งอ้างอิง
http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=1&sub1=4&sub2=3)
http://www.quickskynetwork.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=288124)
http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=1&sub1=4&sub2=1)
http://taolik.thatphanom.com/techno05.htm)
http://www.quickskynetwork.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=288124)
http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=1&sub1=4&sub2=1)
http://taolik.thatphanom.com/techno05.htm)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น